LORD'S TAILOR BLOG

Custom & Bespoke Tailoring in Bangkok

In our experience it's important that we share our knowledge so that you can decide yourself how to enjoy and get the most out of your tailored garments. From options, durability and how to wear, our blog covers it all.

7 สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณผู้ชายใส่สูทได้อย่างดูดีและมีภูมิฐาน

7 สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณผู้ชายใส่สูทได้อย่างดูดีและมีภูมิฐาน      การออกงานสังคมที่เป็นงานทางการหรือโอกาสพิเศษ แน่นอนว่าการใส่สูทเป็นสิ่งที่คุณผู้ชายไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้โดยทั่วไปแล้วคนไทยจะไม่ได้ใส่สูทออกงานกันบ่อยนัก ทว่าเมื่อถึงเวลาที่ต้องแต่งกายด้วยชุดสูทแล้ว การเลือกใส่สูทที่ถูกต้องตามหลักสากล นอกจากจะช่วยเสริมบุคลิกภาพให้คุณดูดี ดูมีภูมิฐาน และน่าเชื่อถือ ก็ยังเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและให้เกียรติเจ้าของงานนั้นๆ อีกเช่นกัน ดังนั้น นี่เป็น 7 สิ่งสำคัญที่ลอร์ดเทเลอร์ขอแนะนำให้คุณผู้ชายสามารถใส่ได้อย่างดูดีและมีภูมิฐาน รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น เลือกสวมสูทที่พอดีกับรูปร่าง (Slim-Fit) สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ การเลือกใส่สูทแบบพอดีกับรูปร่าง (Slim-Fit) ไม่ใช่การใส่สูทแบบรัดรูป (Skinny-Fit) นั่นหมายความว่า ไม่ว่าคุณจะมีรูปร่างแบบไหน (อ้วนล่ำ, ผอมแห้ง ฯลฯ) ก็ควรเลือกใส่สูทที่พอดีกับตัว เข้ารูปแบบกำลังดี ไม่หลวมหรือไม่รัดรูปจนเกินไปจึงจะดีที่สุด ซึ่งทรงสูทแบบ Slim-Fit ที่สร้างด้วยรูปแบบ V-Shape จะช่วยให้ผู้ที่มีรูปร่างอ้วนดูผอมเพรียวขึ้น รวมทั้งการเลือกใช้เนื้อผ้าที่มีความหนาแบบพอดี รวมถึงเทคนิคการตัดเย็บ การเสริมไหล่ของเสื้อสูท ก็สามารถช่วยปรับให้รูปร่างของคุณผู้ชายดูดีและดูสมส่วนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ไม่กลัดกระดุมเม็ดล่างสุดของเสื้อสูท จากที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อคุณเลือกสวมสูทที่มีทรงพอดีกับรูปร่าง (Slim-Fit) แล้วนั้น ในกรณีที่เสื้อสูทเป็นแบบสองกระดุม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เสื้อสูทนั้นรัดตึงช่วงลำตัวมากเกินไป และช่วยให้รูปร่างของผู้สวมใส่ดูโปร่งและคล่องตัวมากขึ้น ลอร์ดเทเลอร์ขอแนะนำให้ ‘ปลดกระดุมเม็ดล่างออก’ แต่หากคุณผู้ชายคิดว่าเสื้อสูทที่สวมอยู่สามารถกลัดกระดุมได้ทั้ง 2 เม็ดโดยไม่ได้ทำให้อึดอัดหรือรัดตึงจนเกินไป นั่นหมายความว่า…

7 ลำดับความเป็นทางการของชุดสูทผู้ชายที่คุณควรรู้

7 ลำดับความเป็นทางการของชุดสูทผู้ชายที่คุณควรรู้ สูทผู้ชาย ในสายตาของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีความคุ้นเคย อาจมองไม่เห็นถึงความแตกต่างของชุดสูทแต่ละรูปแบบมากนัก ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ชุดสูทผู้ชายจะแฝงไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยมากมายให้คุณได้เรียนรู้อยู่เสมอ หนึ่งในสิ่งสำคัญที่คุณจำเป็นต้องทราบเป็นอย่างแรกก็คือ ลำดับความเป็นทางการของชุดสูทผู้ชาย นั่นเพราะชุดสูทแต่ละแบบจะมีระดับความเป็นทางการไม่เท่ากัน การเลือกชุดสูทให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถบ่งบอกถึงการให้เกียรติและรู้จักกาลเทศะของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี The Tails ชุดสูท The Tails คือ ชุดสูทที่มีความเป็นทางการสูงสุด ประกอบไปด้วย เสื้อ Tailcoat และกางเกงที่ตัดเย็บด้วยผ้าชนิดเดียวกันและเป็นสีดำเสมอ โดยลักษณะที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนที่สุดคือ ด้านหน้าของเสื้อ Tailcoat จะสั้นแตะระดับสะโพกของผู้สวมใส่เท่านั้น ส่วนชายเสื้อด้านหลังจะมีความยาวอยู่ในระดับหลังหัวเข่า ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่า “เสื้อโค้ตเพนกวิ้น”นอกจากนี้ สิ่งที่จะทำให้ชุดสูทแบบ The Tails สมบูรณ์แบบก็คือ การผูกด้วยโบไทสีขาว (White Bow Tie) โดยการใส่ชุดสูทแบบ The Tails นั้น จะพบได้ในโอกาสของงานที่ระบุ Dresscode ว่า Tails หรือ White Tie นั่นเอง The Morning Dress The Morning Dress…

วิวัฒนาการของ ‘สูท’ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการของ ‘สูท’ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน            สูท นับเป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับความนิยมจากผู้ชายตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลหนึ่งที่ทำให้สูทยังสามารถครองใจและได้รับความนิยมจากผู้ชายมาได้อย่างยาวนาน นอกจากจะเป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นชุดที่มีความสุภาพในระดับสากล สามารถปรับภาพลักษณ์ของผู้สวมใส่ให้มีความน่าเชื่อถือ ดูดี และมีภูมิฐานได้ภายในพริบตาแล้วนั้น สูท ยังมีการปรับเปลี่ยนไปตามค่านิยมของแต่ละยุคสมัยอยู่เสมอ จนเกิดเป็นวิวัฒนาการของสูท ซึ่งสามารถสะท้อนได้ถึงเหตุการณ์ความเป็นอยู่ในสังคม สภาพเศรษฐกิจ และเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในช่วงเวลานั้นๆ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้สูทได้รับความนิยมมาหลายยุคหลายสมัยนั้น จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ‘ช่างตัดสูท’ ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบผ่านฝีมือการตัดเย็บที่มีความละเอียด ประณีต และชำนาญ ทำให้ผู้ที่สวมใส่สามารถสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นตัวเองได้อย่างโดดเด่นและดูดีอยู่เสมอ หนึ่งในนั้นคือ โบ บรัมเมลล์ (Beau Brummell) ผู้ที่เรียกได้ว่าเป็น ผู้บุกเบิกต้นแบบของชุดสูทตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 โดยมีการนำเครื่องแบบของสุภาพบุรุษชาวอังกฤษในราชสำนัก ซึ่งประกอบไปด้วย เสื้อนอก (Tailcoat) กางเกงขายาวระดับหัวเข่า (Breeches) ถุงน่องผ้าไหม และวิกผมลงแป้ง มาตัดทอนให้เข้ากับวิถีชีวิตและยุคสมัยมากยิ่งขึ้น จนเหลือเพียงเสื้อสูทและกางเกงขายาวเป็นหลัก ซึ่งจะถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามค่านิยมในแต่ละยุคสมัย สูทยุค 1900s ยุคของการแต่งกายของผู้ชายด้วยชุดสูทสมัยใหม่ เป็นชุดสูทที่ออกนอกกรอบจากรูปแบบของราชสำนัก มีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ชิ้น โทนสีเป็นสีเข้ม ผลิตด้วยผ้าวูลที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ อย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งในขณะนั้นจะมีความเป็นผู้นำแฟชั่น การตัดเย็บชุดสูทจะไม่เน้นการเข้ารูป ซึ่งแตกต่างจากประเทศฝั่งอเมริกาที่มีความเป็นทางการมากกว่า ด้วยชุดสูทแบบกระดุมสองแถวกับปกสูทเล็ก สวมทับกับเสื้อเชิ้ตปกสูงกว่าปกติ…

ชุดสูท เสื้อนอกเสริมเสน่ห์ของผู้ชาย

ชุดสูท เสื้อนอกเสริมเสน่ห์ของผู้ชาย           ในปัจจุบัน หากการแต่งหน้าคือการเสริมเสน่ห์เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้หญิง ชุดสูทของผู้ชายก็ถือเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แม้เราจะทราบกันดีว่า การแต่งกายด้วยชุดสูทของผู้ชายนั้น จัดเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่ในอดีตของสังคมชนชั้นสูง ผ่านการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยจนได้รับการยอมรับว่า ชุดสูท เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชายที่มีความสุภาพและสามารถเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคุณได้ไม่ว่ารูปร่างของคุณจะเป็นแบบไหนก็ตาม หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 400 ปีที่แล้ว การแต่งกายด้วยชุดสูท นับเป็นเครื่องแต่งกายที่เข้าถึงได้เพียงชนชั้นสูงในระดับของราชวงศ์ ขุนนาง หรือผู้มีอำนาจเท่านั้น ยกตัวอย่างจากชนชั้นสูงของฝรั่งเศส ลักษณะของชุดสูทในสมัยนั้น จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจากชุดสูทในปัจจุบันที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างมาก เช่น เสื้อตัวนอกจะมีความยาวลงมาถึงเข่า ปลายแขนเสื้อมีความกว้าง และมีการประดับตกแต่งด้วยอัญมณีที่หลากหลาย เพื่อเสริมภาพลักษณ์ให้ดูสุขุม น่าเชื่อถือ แสดงถึงอำนาจบารมี และฐานะของบุคคลนั้นๆ ต่อมา เมื่อชุดสูทผู้ชายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จุดเด่นของชุดสูทในแต่ละเมือง แต่ละประเทศ จึงถูกดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิต ยุคสมัย และมีความเป็นเอกลักษณ์ตามทักษะฝีมือของช่างตัดสูทมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ชุดสูทผู้ชาย สามารถเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับในระดับสากลมาจนถึงปัจจุบัน อิทธิพลจากอุตสาหกรรมบันเทิง นับเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นเสน่ห์และความนิยมของชุดสูทได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสื่อภาพยนตร์หรือวงการเพลง ซึ่งมักจะเห็นผู้รับบทหลักหรือตัวละครหลักที่สวมชุดสูท มีภาพลักษณ์ที่ดูเท่ สุขุม และน่าเชื่อถือ จนทำให้เกิดเป็นกระแสความต้องการอย่างล้นหลาม เช่น ภาพยนตร์สายลับ 007 Skyfall ที่นักแสดงนำอย่าง Daniel Craig…

ประวัติความเป็นมาของชุดสูทผู้ชาย

ประวัติความเป็นมาของชุดสูทผู้ชาย           ลอร์ดเทเลอร์ชวนคุณเดินทางย้อนเวลาไปค้นหาประวัติความเป็นมาของชุดสูทกันหน่อยว่า ชุดสูทที่ได้รับความนิยมและถูกยกให้เป็นเครื่องแต่งกายแบบทางการของผู้ชายในปัจจุบันนั้น ในอดีตมีจุดเริ่มต้นมาอย่างไร ในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบของชุดสูทที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งใครคือผู้อยู่เบื้องหลังของชุดสูทที่ทำให้ชุดสูทได้ชื่อว่าเป็นเครื่องแต่งกายที่มีความคลาสสิกและร่วมสมัยมาได้อย่างยาวนาน สูทคืออะไร สูท หรือ suit มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า “suivre” ซึ่งมีความหมายว่า “to follow” หรือ “ตามกัน” นั่นหมายความว่า สูท คือ การทำให้เสื้อสูท (แจ็กเกต) กับกางเกง สามารถจับคู่ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นโทนสี เนื้อผ้า รวมไปถึงองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ความหมายของชุดสูท ชุดสูท หมายถึง ชุดเสื้อผ้าที่เสื้อและกางเกงถูกตัดเย็บขึ้นมาจากเนื้อผ้าชนิดเดียวกัน และจัดว่าเป็นเครื่องแต่งกายที่เป็นทางการแบบดั้งเดิมของผู้ชายมาตั้งแต่สมัยอดีตตั้งแต่สี่ร้อยปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบตามแต่ละยุคสมัย โดยยังรักษาจุดเด่นสำคัญ ‘ชุดสูท คือ สัญลักษณ์ของเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงความมีอารยะ อำนาจ และส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของผู้สวมใส่ดูสุภาพและน่าเชื่อถือ’ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงชุดสูท หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส การแต่งกายแบบชุดราชสำนักตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีรูปแบบของการใส่วิก สวมเสื้อสูทตัวยาวคู่กับกางเกงขายาวระดับเข่า (Breeches) และปิดด้วยถุงเท้ายาว เริ่มได้รับความนิยมลดลง และถูกแทนที่ด้วยการแต่งกายที่มีความเรียบง่ายมากยิ่งขึ้น ยุครีเจนซี่ (Regency) ยุครีเจนซี่ (Regency) นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชุดสูทรูปแบบโมเดิร์นที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน…

‘SUIT VEST’ จากชุดสูทของผู้ชายสู่ไอเท็มลับของผู้หญิงสายแฟชั่น

‘SUIT VEST’ จากชุดสูทของผู้ชายสู่ไอเท็มลับของผู้หญิงสายแฟชั่น           เมื่อย้อนเวลากลับไปจะพบว่า วัฒนธรรมการใส่สูทของผู้ชายมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือการเลือกสวมใส่ “Suit Vest” หรือ “เสื้อกั๊ก” เอาไว้ภายใต้เสื้อสูท ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูงเป็นอย่างมาก จนเมื่อกระแสความนิยมของชุดสูทถูกลดทอนด้วยการแต่งกายสไตล์ลำลอง (Casual) ทำให้ความวุ่นวายของการสวมใส่ชุดสูทลดลงจนเหลือเพียงเสื้อสูทและกางเกงเข้าคู่กันเท่านั้น นั่นหมายความว่า Suit Vest หรือ เสื้อกั๊ก จึงกลายเป็นไอเท็มชิ้นพิเศษที่สะท้อนถึงความสุภาพเรียบร้อย และถูกเรียกใช้งานแค่ในโอกาสสำคัญเท่านั้น ไม่ใช่ทุกครั้งที่สวมใส่สูทอีกต่อไป ต่อมาในช่วงปี 1810 อิทธิพลความนิยมที่เปลี่ยนไป ทำให้ชุดสูทเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เสื้อกั๊กจะถูกออกแบบให้สั้นลง มีลักษณะแนบลำตัวมากขึ้น โดยเน้นให้เข้ากับรูปร่างของผู้สวมใส่ ทั้งช่วงไหล่ ช่วงอก และกระชับช่วงเอวให้พอดีกับรูปร่าง กระนั้นความนิยมในเสื้อกั๊กก็ต้องมีอันมาสะดุดลงเพราะภาวะสงครามโลก ที่ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงานในการผลิต ก่อนที่มันจะกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในช่วงยุค 1960s -1970s และประคองตัวมาเรื่อยๆ นั่นเอง จุดเริ่มต้นในการหยิบฉวยชุดสูทของผู้ชายมาประยุกต์ให้เข้ากับการแต่งกายของผู้หญิง เริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 1966 เป็นต้นมา หลังจากที่ดีไซเนอร์ผู้ล่วงลับอย่าง Yves Saint Laurent ให้กำเนิดทักซิโด (Tuxedo) ในแบบผู้หญิงชื่อ “Le Smoking” ซึ่งต่อมาถูกปรับเปลี่ยนไปตามวิถีและรสนิยมของผู้สวมใส่ ซึ่งกลายเป็นการบุกเบิกให้ผู้หญิงสามารถมีชุดสูทไว้ในตู้เสื้อผ้าได้โดยไม่ต่างจากผู้ชาย ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความเท่าเทียมทางเพศในการเข้าสังคมได้เช่นกัน…

ชุดสูทผู้หญิงบนเวทีนางงามจักรวาล

ชุดสูทผู้หญิงบนเวทีนางงามจักรวาล           เมื่อพูดถึงเวทีระดับโลกอย่างเวทีนางงามจักรวาล หลายคนคงนึกถึงสาวสวยพราวเสน่ห์ในชุดราตรีลากยาวประดับเพชร สะท้อนแสงวิบวับชวนตื่นตาตื่นใจ ทว่าในปี 2018 ชุดสูทที่เคยเป็นเครื่องแต่งกายของผู้ชายกลับมีบทบาทในสังคมของผู้หญิงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเวทีระดับโลกอย่าง “มิสยูนิเวิร์ส” ซึ่งเป็นเวทีที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก การเผยเสน่ห์และเอกลักษณ์ของผู้หญิงด้วยชุดสูท สามารถสะท้อนได้ทั้งความเฟมินีนและมัสคิวลีนได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะเมื่อชุดสูทผ่านการตัดเย็บจากช่างมืออาชีพที่สามารถทำให้รูปร่างของผู้ส่วมใสโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ จึงไม่แปลกที่ชุดสูทจะกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจในการสื่อสารถึงตัวตนของผู้ใหญ่ยุคใหม่ สูทสีขาวในเวทีอำลาตำแหน่งของ Demi-Leigh Nel-Peters มิสยูนิเวิร์สประจำปี 2017 เรียกได้ว่าเป็นสูทสีขาวฝีมีดีไซเนอร์ไทยที่สะดุดตาสะดุดใจหลายคน ซึ่งเดมี่เลือกใส่เพื่ออำลาตำแหน่งในช่วง Final Farewell Speech จากฝีมือของดีไซเนอร์ชาวไทยอย่าง ณรงค์ เกตุแก้ว จากแบรนด์ Narong ซึ่งมีเวลาเตรียมการตัดเย็บเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น บนบัญชีอินสตาแกรม narong_official ได้โพสต์ถึงเรื่องราวนี้เอาไว้ว่า ความต้องการแรกของเดมี่นั้นคือ เธอต้องการที่จะเลือกใส่ชุดของดีไซเนอร์ชาวไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เนื่องจากไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดการประกวดในครั้งนี้ โดยที่ตัวของเธอเองนั้นมีโจทย์ว่า เธอต้องการใส่สูทสีขาว และกางเกงสีขาว ไม่ใช่ชุดเดรสทั่วไป เพื่อถ่ายทอดถึงพลังความแข็งแกร่งของผู้หญิง อันเป็นหัวใจหลักสำคัญบนเวทีมิสยูนิเวิร์สปีนี้ นั่นคือ Empowering Women เธอจึงเริ่มขอคำปรึกษาจากคนในวงการแฟชั่นไทย จนท้ายที่สุดแล้วเธอก็สะดุดตาเข้ากับชุดสูทสีขาวอย่างที่เธอตามหามานาน โดยชุดสูทสีขาวและกางเกงสีขาวที่เดมี่ใส่นั้น เน้นการตัดเย็บเรียบโก้ พร้อมให้ความทะมัดทะแมงแก่ผู้สวมใส่ อีกทั้งยังประดับด้วยลูกเล่นดอกไม้ตกแต่งที่สามารถดึงเอาความเป็นเฟมินีนของผู้สวมใส่ออกมาได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เดมี่ปรารถนาตั้งแต่ต้น นับเป็นอีกก้าวสำคัญของดีไซเนอร์ชาวไทยบนเวทีโลกที่น่าชื่นชม และน่าจับตามองไปพร้อมๆ…

ก้าวข้ามเรื่องเพศด้วยแฟชั่นสูทผู้หญิงจากตำนาน ‘LE SMOKING’ ฝีมือ YSL

ก้าวข้ามเรื่องเพศด้วยแฟชั่นสูทผู้หญิงจากตำนาน ‘LE SMOKING’ ฝีมือ YSL           ในปัจจุบัน เราพบเห็นการแต่งกายของผู้หญิงด้วยชุดสูทหรือแม้กระทั่งเบลเซอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องชินตา แม้ว่าการแต่งกายในอดีต “เพศ” ที่มีสิทธิ์ที่จะสวมใส่สูทจะมีเพียงเหล่าผู้ชายเท่านั้น แต่เมื่อค่านิยมของยุคสมัยเปลี่ยนไป การเข้าถึงชุดสูทที่ไม่ได้ยึดติดกับคำว่าเพศ ก็ยิ่งทำให้ชุดสูทได้รับความนิยมที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และบุคคลที่ถือเป็นผู้มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อวงการแฟชั่น โดยเฉพาะการฉีกกรอบของการแต่งกายด้วย “สูท” ออกจากธรรมเนียมเดิมๆ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากแฟชั่นดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสอย่าง “อีฟ แซงต์ โลรองต์” หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์แฟชั่นสุดหรู “Yves Saint Laurent” ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันนั่นเอง ย้อนกลับไปเมื่อช่วง ‘60s การแต่งกายของผู้หญิงมักถูกจดจำและบันทึกลงหน้าประวัติศาสตร์แฟชั่นว่าเป็นยุคแห่งเสื้อและกระโปรงเข้าชุด หรือจะเป็นเดรสสีสันสดใสประกอบลวดลาย สมัยนั้นไม่มีโซเชียลมีเดีย ไม่มีอินฟลูเอนเซอร์คอยนำเสนอวิธีคิดอันแตกต่างที่ทรงพลัง นิยามความไร้เพศหรือความลื่นไหลทางเพศจึงแทบจะเป็นศูนย์ในยุคนั้น จนกระทั่ง Yves Saint Laurent รังสรรค์ “Le Smoking Suit” ขึ้นมาให้กับวงการแฟชั่นโลก และเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล  การตั้งคำถามว่า “เพศ” มีความสำคัญในการกำหนดการแต่งกายจริงหรือ ได้ทำลาย “กรงขังสิทธิสตรี” ได้สำเร็จอย่างต่อเนื่องอย่างที่ได้เห็นกันในปัจจุบัน อีฟ แซงต์ โลรองต์ เปิดหน้าว่างเพื่อบันทึกผลงานของเขาลงบนหน้าบันทึกประวัติศาสตร์ จากเดิมผู้หญิงไม่สามารถสวมกางเกงเข้าร้านอาหารหลายแห่งได้ งานกลางคืนผู้หญิงต้องสวมชุดเดรสยาวเท่านั้น…

ปูพื้นฐานเรื่องของสูทให้มือใหม่ใส่อย่าง PROFESSIONAL

ปูพื้นฐานเรื่องของสูทให้มือใหม่ใส่อย่าง PROFESSIONAL           ขึ้นชื่อว่า สูท แม้จะเป็นเครื่องแต่งกายของผู้ชายที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่ามีความเป็นทางการ มีความสุภาพ จนสามารถเป็นมาตรฐานในการแต่งกายเข้าสังคมอย่างแพร่หลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ชายทุกคนจะมีความรู้ความชำนาญเรื่องชุดสูท ซึ่งมีรายละเอียดยิบย่อยมากมายขนาดนั้น ดังนั้น ลอร์ดเทเลอร์จึงขอนำเรื่องราวของชุดสูทมาแชร์ให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อให้มือใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามาในวงการสูท สามารถเข้าใจเรื่องราวของชุดสูทได้มากยิ่งขึ้น จนสามารถสนุกสนานไปกับการแต่งกายด้วยชุดสูทได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้คุณดูดีและโดดเด่นทุกครั้งที่ได้สวมใส่ชุดสูท รูปร่างหน้าตาของสูท ไม่ว่าคุณจะเห็นรูปร่างหน้าตาของสูทมามากแค่ไหน แต่สุดท้ายจะสามารถแบ่งหน้าตาของสูทออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ Single Breasted Suit คือ ชุดสูทแบบที่มีกระดุมแถวเดียว เมื่อกลัดกระดุมจะเห็นเม็ดกระดุมเรียงอยู่ตรงกลางลำตัว จะมีกระดุม 1 เม็ด หรือกระดุม 4 เม็ดก็ตาม หากเรียงแถวเดียวตรงกลางลำตัว เราก็จะเรียกว่า Single Breasted (ซิงเกิ้ล เบร๊สเท็ด) Double Breasted Suit คือ ชุดสูทแบบที่มีกระดุมสองแถว เมื่อกลัดกระดุมจะเห็นปกเสื้อสูทไขว้ทับกันด้านหน้าและเห็นแนวกระดุมเรียงตัวกันเป็นสองแถว จะมีกระดุม 2 เม็ดหรือกระดุม 8 เม็ด หากเรียงกันลงมาเป็น 2 แถว เราก็จะเรียกว่า Double Breasted (ดับเบิ้ล เบร๊สเท็ด)…

CASUAL SUIT สูทลำลอง ทางเลือกสำหรับวันสบายที่คุณอยากดูดี

CASUAL SUIT สูทลำลอง ทางเลือกสำหรับวันสบายที่คุณอยากดูดี           เมื่อได้ยินคำว่า สูท หลายคนคงนึกถึงภาพการแต่งกายอย่างเป็นทางการสุดเนี้ยบ หรือการแต่งกายจัดเต็มในโอกาสพิเศษเท่านั้น ทว่าในสังคมปัจจุบัน สูท นับเป็นเครื่องแต่งกายที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลเหมือนในสมัยก่อน ดังนั้น เมื่อมีความหลากหลายและยืดหยุ่นในการสวมใส่สูทมากขึ้น ลอร์ดเทเลอร์จึงเชื่อว่าตราบใดที่เราเลือกสูทได้อย่างเหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะ สูท ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแต่งกายในชีวิตประจำวันได้เช่นกัน ในบทความที่ผ่านมา ลอร์ดเทเลอร์ได้นำเสนอชุดสูทที่เหมาะกับโอกาสที่เป็นทางการมาบ้างแล้ว บทความนี้จึงขอนำเสนอชุดสูทที่เหมาะสมกับโอกาสที่มีความสบายๆ เป็นกันเอง แต่ยังคงทำให้ผู้สวมใส่มีบุคลิกภาพที่ดูดีอยู่เสมอ ซึ่ง Casual Suit คือชุดสูทที่ตอบโจทย์ได้เหมาะสมที่สุดนั่นเอง ทำความรู้จัก Casual Suit Casual Suit คือ ชุดสูทที่เสื้อแจ็กเกตและกางเกงตัดเย็บด้วยเนื้อผ้าและโทนสีเหมือนกันทุกประการ แต่มีสีสันที่ให้ความรู้สึกสบายและเรียบง่าย เช่น สีครีม สีเบจ หรือโทนสีอ่อนอื่นๆ โดยสามารถเลือกจับคู่กับเสื้อโปโล เสื้อคอจีน โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเสื้อเชิ้ตผูกไทด้านในเท่านั้น Casual Suit จึงเป็นชุดที่เหมาะสำหรับการใส่ไปพบปะสังสรรค์ ออกเดต หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางวัน Casual Suit ไม่ใช่ Sport Jacket หากคุณจำความหมายของสูทได้ คุณจะสามารถข้ามความสับสนตรงจุดนี้ไปได้เลย เพราะ สูท (Suit) จะประกอบด้วยเสื้อและกางเกงที่ผลิตขึ้นจากผ้าเดียวกันทุกประการเสมอ ส่วนแจ็กเกต (Jacket) จะหมายถึง…